22 October 2011

ปัญหาคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตที่คุณควรรู้

ถ้าคุณใช้อินเตอร์เนตเสมอ, ความปลอดภัยควรจะเกี่ยวข้องกับคุณ น่าแปลกที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในโลกออนไลน์ไม่มีมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมไว้ ถ้าในเวบไซท์ธุรกิจไม่ได้มีความปลอดภัยเช่นนั้น, คุณจะแน่ใจได้เลยว่าอัตราผู้ใช้งานเวบไซท์นั้นจะไม่ดีนัก การก่อวินาศกรรมทางอิเลคโทรนิคและซอฟท์แวร์จารกรรมข้อมูลเป็นเรื่องจริงและน่ากลัวมาก การจารกรรม ID สำหรับผู้ใช้ภายในบ้านยังเป็นความเสี่ยงสูง ทุกๆครั้งที่คุณเข้าสู่ระบบและท่องเวบไซท์ คุณจะทำให้ตัวคุณเองและคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าสู่อันตราย ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้และใช้มาตรการป้องกันจากอุบัติภัยนี้สามารถทำได้

ป้องกันและแก้ไขปัญหา

การใช้งานตามปกติยังเป็นเหตุให้เกิดการเสื่อมของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้วย การใช้มาตรการรักษาฮาร์ดดิสก์เช่นการ Defrag เพื่อป้องกันและรักษาคุณภาพฮาร์ดดิสก์ที่ควรจะทำเป็นประจำ เพื่อเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โปรแกรมบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ต่างๆจะทำให้มาตรการป้องกันนี้ทำได้สมบูรณ์

การป้องกันด้วย Antivirus

ไวรัสทำให้คอมพิวเตอร์คุณทำงานช้าลง, หรือสร้างความเสียหายกับหลายๆไฟล์ได้ ที่ร้ายกว่านั้นคือสามารถทำลายฮาร์ดดิสก์คุณได้เลย การมีเพียงซอฟท์แวร์ Antivirus จะไม่สามารถป้องกันได้ถ้ามันไม่ได้ถูกปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสบ่อยๆ ซึ่งจะทำให้ซอฟท์แวร์ Antivirus ได้รู้จักไวรัสตัวล่าสุดที่ล่องลอยอยู่บนอินเตอร์เนต คุณสามารถเปรียบเรื่องนี้กับการรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดประจำปีได้ คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่อ่อนไหวและควรจะรับวัคซีนในการต้านไวรัสที่รู้จักเสมอ

การป้องกันนักเจาะ (Hacker)

นี่คือปัญหาที่สำคัญมาก ในปัจจุบัน, การจารกรรมหมายเลขบัตร, บัญชีธนาคาร, รหัสผ่านจะเกี่ยวข้องโดยปกติที่ผู้ใช้งานทุกๆคนควรจะรับรู้ไว้ อันดับแรก, คุณจำเป็นต้องมี Firewall, ในฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์อันใดอันหนึ่ง ไม่เข้าชมเวบไซท์ที่น่าสงสัย ระมัดระวัง Email ในโฟลเดอร์ Spam, ไม่เปิดพวกมันถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจดหมายนั้นมาจากไหน; โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้ามเปิดไฟล์แนบใน Email เหล่านี้ โดยส่วนใหญ่แล้วไฟล์แนบเหล่านี้จะมี Malware, แต่ถ้าคุณต้องการเปิดพวกมัน, ให้ตรวจสอบพวกมันก่อนด้วยโปรแกรม Antivirus ของคุณ อีกอย่างที่สำคัญก็คือรหัสผ่านของคุณ ใช้อักษรอย่างน้อย 8 ตัวอักษร, วิธีที่ดีที่สุดในการตั้งรหัสผ่านคือการผสมกันของตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์, หมายเลขและสัญลักษณอักขระต่างๆไว้ อีกทั้ง, ไม่ควรใช้รหัสผ่านอันเดียวกับทุกๆบัญชีการใช้งานต่างๆของคุณ

No comments: